การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของสื่อดิจิทัล เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพการเรียนรู้และทักษะสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เด็กเล็กที่มีการเปิดรับสื่อมากเกินไป เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือมือถือก่อนเข้านอน จะทำให้เด็กนอนดึกและพักผ่อนน้อย แม้แต่เด็กทารก ถ้าได้เห็นหน้าจอที่สว่างจ้าเกินไป ก็จะส่งผลให้นอนไม่เพียงพอ ซึ่งการนอนไม่พอส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
ผลกระทบที่สำคัญมากของสื่อดิจิทัล คือ กรอบการเรียนรู้และทักษะทางสังคม โดยเด็กจะเลือกคุยกับ IT Mobile Phone มากกว่าจะมีปฏิสัมพันธ์มากกว่าพ่อแม่ หรือครอบครัว ในวัยทารกและเด็กเล็ก การได้พูดคุยกันซึ่งๆ หน้า ได้ยินเสียง ได้เห็นปาก ได้เห็นกริยา เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญกว่าการโต้ตอบทางสื่อดิจิทัล โดยเป็นที่ยอมรับกันทั้งโลกว่า เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ต้องจำกัดการใช้สื่ออย่างมาก ถ้าจะมีการใช้ก็ให้ใช้คู่กับพ่อแม่ เพื่อจะได้ร่วมดู ร่วมพูดคุย และแฝงโอกาสสอนไปด้วย สำหรับเด็กอายุ 18-24 เดือน ควรเลือกเนื้อหาที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงให้เด็กนั่งดูคนเดียว ส่วนเด็กที่อายุ 2-4 ปี ควรจำกัดการใช้หน้าจอไม่เกิน 1 ชม. ต่อวัน และพยายามเลือกสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเพื่อการเรียนรู้ด้านอารมณ์ สังคม จริยธรรม ไม่มีความรุนแรง
ปัจจุบันมีทั้ง Application ที่ดีๆ มากมายในสื่อ แต่ App ทางการศึกษาหลายๆ App ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า มีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองต้องพิจารณา และปรึกษากับผู้มีความรู้ โดยเฉพาะ App ที่เน้นการสร้างทักษะด้านการท่องจำ เช่น จำตัวอักษร และรูปร่าง
สำหรับหนังสือดิจิทัล ที่มีเอฟเฟคเสียงและภาพจำนวนมาก อาจเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กๆ บางครั้งมีผลให้เด็กจัดเรื่องราวไม่ได้ หากต้องการที่จะใช้หนังสือดิจิทัล ควรมีหลักการเลือกดังนี้
- ร่วมอ่านหนังสือกับลูกในทุกครั้ง แต่ไม่แนะนำให้ใช้สื่อดิจิทัลกับเด็กที่อายุ ต่ำกว่า 2 ปี ถ้าจำเป็นต้องใช้ ต้องเลือกโปรแกรมที่คุณภาพสูงและดูร่วมกับเด็กเสมอ และใช้ระยะเวลาไม่นาน