ในกรณีทั่วไป คุณแม่สามารถใช้แนวทางในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แบบมาตรฐาน แต่ในกรณีเด็กป่วยนั้นเรามีแนวทางพิเศษให้ค่ะ ด้วยว่าน้ำนมแม่ (Human milk)นั้นเป็นอาหารที่ดีและยังเป็นโอสถวิเศษสำหรับทารกแรกเกิดป่วย กล่าวคือ นมแม่เหมือนยาที่ช่วยปกป้องลูกจากการติดเชื้อ ภาวะลำไส้อักเสบ (NEC) Feed tolerance ส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง ป้องกันภาวะเจ็บป่วยระยะสั้นและระยะยาว นมแม่มีสารต้านการอักเสบและสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งปกป้องการติดเชื้อ ช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาการ ซึ่งในช่วงของการฝากครรภ์จำเป็นต้องมีแยกแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงออกจากแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติเพื่อให้ข้อมูลและคำปรึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในกรณีต่างๆ ดังนี้ค่ะ
1. การให้ข้อมูลเรื่องนมแม่ในเด็กป่วย (informed decision) ในแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มความเสี่ยงสูง(high risk) ให้เน้นเรื่องนมแม่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา เช่น การให้ความรู้เรื่องน้ำนม colostrum ซึ่งมีผลดีต่อการรักษา ไม่ได้เป็นเพียงแค่อาหาร
(2) การบีบน้ำนมและคงสภาพน้ำนมแม่ (initiation and maintenance of milk supply) แม่ที่คลอดปกติ ควรเริ่มบีบน้ำนมทันทีภายใน 2 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนแม่ที่ผ่าคลอดควรเริ่มบีบน้ำนมภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อกระตุ้นการสร้างและหลั่งน้ำนมให้เร็วที่สุด รวมถึงต้องให้ความรู้แม่เกี่ยวกับเรื่องการคงสภาพน้ำนม เน้นให้แม่บีบน้ำนมทุก 2-3 ชั่วโมง หรือวันละ 8-10 ครั้ง
3) การบริหารจัดการน้ำนมแม่ (human milk management)
น้ำนมแม่มีระยะคงสภาพที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการจัดเก็บ โดยอาจสรุปออกมาได้ตามตารางดังนี้ค่ะ
4) การรักษาเด็กป่วยด้วยการนำน้ำนมแม่มาเคลือบช่องปากลูก (oral care and initiation of enteral
feeds) สามารถทำได้ตั้งแต่ช่วงงดนมชั่วคราว จนกระทั่งทารกแรกเกิดป่วยสามารถดูดนมแม่จากเต้าได้
5) การดูแลลูกแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin to skin contact) การทำ skin to skin contact ทำอย่างน้อย
ครั้งละ 1 ชั่วโมง ช่วยทำให้ทารกแรกเกิดป่วยสงบ ช่วยให้ทารกได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น ระดับออกซิเจนในเลือดคงที่ สามารถควบคุมอุณหภูมิกายได้ดี การเต้นหัวใจสม่ำเสมอ ควบคุมอุณหภูมิกายให้เหมาะสม ช่วยในการเพิ่มน้ำหนักตัว การเจริญเติบโตของสมอง ลดจำนวนวันในการนอนโรงพยาบาล ช่วยให้ทารกหลับได้นานขึ้นและหลับลึกขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวดและความเครียดของทารก รวมทั้งช่วยทำให้ทารกสามารถเปลี่ยนผ่านไปกินนมแม่จากเต้าได้เร็วขึ้น
6) การดูดเต้าเปล่า (non-nutritive sucking; NNS) ทำในทารกแรกเกิดป่วยที่อายุครรภ์น้อยกว่า 35 สัปดาห์ หัวใจสำคัญคือแม่ต้องบีบน้ำนมออก 15 นาทีก่อนให้ลูกดูดนมแม่เพื่อป้องกันการสำลักนม ช่วยทำให้ทารกแรกเกิดป่วยเรียนรู้การดูดนมแม่อีกทั้งฝึกให้แม่อุ้มลูกได้อย่างถูกวิธี
7) การฝึกดูดนมแม่จากเต้า (transition to breastfeeding and technology to support breastfeeding)
สอนให้แม่รู้จักสัญญาณหิวของลูก (feeding cues) สอนแม่ประเมินการดูดนมของทารกแรกเกิดป่วยทุกครั้งที่ดูดนมแม่ว่าดูดถูกต้องทุกครั้งทั้งท่าให้นมและแม่รู้สึกว่าลิ้นอยู่ใต้ลานนม แม่ไม่เจ็บหัวนม การจัดท่าให้นม การใช้หมอนช่วยและสอนการประคองเต้า
8) การประเมินการได้รับน้ำนมแม่จากการดูดเต้า (measuring milk transfer) เพื่อประเมินน้ำหนักลูกก่อนดูดนมแม่และหลังดูดนมแม่ (pre and post weights) โดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักแบบไฟฟ้า (electronic scale) เพื่อประเมินว่าทารกได้รับน้ำนมแม่
9) การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลก่อนกลับบ้าน (preparation for discharge)
แม่ควรได้อยู่กับลูกที่โรงพยาบาล (rooming-in) แบบตลอด 24 ชั่วโมง หรือแบบกลางวัน หรือเฉพาะกลางคืนก่อนกลับ เพื่อเตรียมตัวและฝึกให้นมลูก ให้แม่เรียนรู้และประเมินความเพียงพอของน้ำนม
10) การติดตามหลังจากกลับบ้าน (appropriate follow-up) จัดที่ปรึกษาให้แม่ โดยมีทีมติดตามเยี่ยมผู้ป่วยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและเรื่องนมแม่ ผ่านทางโทรศัพท์ หรือสายด่วน (hot line)
เมื่อคุณแม่ได้รับความเข้าใจเป็นกรณีพิเศษเช่นนี้แล้วก็จะช่วยทำให้คุณแม่สามารถรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีความสุขในเร็ววันแน่นอนค่ะ อาจจะไม่ง่ายนักแต่ก็ไม่ยากเกินไปค่ะ เราขอเป็นกำลังใจคุณแม่นักสู้คนเก่งของเราในการดูแลตัวเองและลูกน้อยในวันป่วยไข้ในเติบโตขึ้นอย่างงดงามนะคะ
ศิริลักษณ์ ถาวรวัฒนะ
ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(APN) สาขาการพยาบาลเด็ก
Center of Special Expertise in Lactation Clinic: Breastfeeding Sick Babies Center
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี