How early experiences are built into our bodies, with lasting impacts on learning, behavior, and both physical and mental health
เป็นภาษาอังกฤษ หน่อยนะคะ แต่เป็นเรื่องพ่อแม่ ทุกคนต้องให้ความสำคัญ แปลใจความได้ว่า “ ประสบการณ์ในช่วงชีวิตเมื่อเริ่มต้น จะมาสิงสถิตในร่างกายเรา และมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ ม พฤติกรรม และสุขภาพกายใจ ของเราได้อย่างไร”
หลักการเลี้ยงดูทารกและเด็ก มีหลายแบบ ในบทนี้จะขอกล่าวถึง แบบ “ สนใจใส่ใจ และดูแลตอบอย่างทันใจ” ( serve and return) ซึ่งหมายถึงการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู เอาใจใส่ เช่นเมื่อลูก ทำท่าบอก หิว ง่วง แฉะ ฯลฯ พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู ดูเป็นและเข้ามาตอบสนองทันที เข้ามาพากิน พานอน เปลี่ยนผ้าอ้อม กระทำด้วยความนุ่มนวล เต็มไปด้วยความรัก เช่นตามองตา พุดกับลูกเบาๆ อบอุ่น กอดลูก หอมลูก และอย่างทันท่วงที ลูกก็จะสะสมความรู้สึกดีๆ ในสมองก็จะเกิดขบวนการเชื่อมต่อสายใยประสาท นำสู่การสร้างโครงสร้างสมองที่แข็งแรง ซ้ำๆ ไปวันต่อวัน เดือนต่อเดือน พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูที่เข้าใจ และย้ำปฏิบัติในแนวทางดังกล่าว การจัดประสบการณ์ก็เป็นไปในทาง สังเกตเด็กชอบอะไร ก็เข้าไปเสริมพาทำ ทำด้วย เล่นด้วย สมองก็จะยิ่งสะสมการเชื่อมต่อของปลายประสาทมากขึ้น เกิดสมองมีการเจริญเติบโตแบบที่เรียกว่าทำให้มีโครงสร้างสมองที่แข็งแรง
เราสามารถพัฒนา Serve & return ให้เกิดการเลี้ยงดูคู่เรียนรู้ ที่มีความหมายมากขึ้น เช่นการคอยสังเกตเด็ก เห็นเด็กเริ่มสนใจอะไร จะเห็นว่าเด็กก็จะส่งรอยยิ้มให้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู บางคนก็ทำท่าชี้นิ้ว ทำเสียงแอ๊ะแอ๊ะ แสดงว่าสนใจ แล้วก็ถ้าเดินได้ก็จะไปคว้าจับ หยิบ ดม เคาะ แล้วก็พินิจพิจารณาแล้วแต่กรณี ถ้าเราจะตอบรับ เราก็พาไปเล่น เด็กกำลังพินิจพิจารณาก็อย่าไปขัดขวาง ห้ามโน่นห้ามนี่โดยไม่จำเป็น (ยกเว้นมีอันตรายต่อชีวิต) การปล่อยให้เล่น การช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้ลูกรู้ว่าสิ่งนั้นชื่ออะไร คืออะไร หรือไปต่อยอดการเล่นบ้างตามโอกาส ก็เป็นการพัฒนา serve and return ให้เกิดการเรียนรู้กว้างขวางขึ้น มีผู้เทียบไว้ว่า เหมือนลูกเล่นปิงปอง เมื่อลูกสนใจเราก็จะเสริ์ฟ และลูกก็จะโต้กลับ สักพักหนึ่งพ่อแม่ก็จะส่งลูกแบบตัดเฉียง คือพลิกแพลงการเล่น การเรียนรู้ ตามสถานการณ์
Serve & Return มีความสำคัญที่ พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู ต้องใส่ใจในสิ่งที่เด็กสนใจ หรือจดจ่อ แล้วก็ส่งเสริมเด็ก สนับสนุนให้กำลังใจ เช่น ชื่นชม ถ้าเราอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด รำคาญ เขาสนใจอะไรก็ขัดขวาง ดุไม่ให้เล่น บางครั้งเผลอใช้ความรุนแรงหรือทำร้ายร่างกาย เด็กจะสามารถสัมผัสได้ถึงความใจร้ายของพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู ก็จะเกิดความเครียดสะสมสู่จิตใต้สำนึกส่งผลเสียในระยะยาวได้
ศ คลินิก พญ ศิราภรณ์ สวัสดิวร
ที่ปรึกษา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ ม มหาสารคาม
เลขาธิการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้ไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว.