ตู้อบ (incubator) เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีราคาสูง ถูกนํามาใช้ในทารกคลอดก่อนกําหนดหรือทารกแรก เกิดน้ำหนักตัวน้อย เพื่อรักษาอุณหภูมิกาย อย่างไรก็ตามการทํางานของตู้อบมีเสียงเครื่องยนต์ที่มีอันตรายต่อการ ได้ยินของทารก ต่างกับเทคนิคการดูแลลูกแบบจิงโจ้ (Kangaroo Mother Care) หรือการทํา skin-to-skin contact โดยการวางทารกบนอกแม่แบบศีรษะสูง ให้ศีรษะลูกหันหน้าไปทางใดทางหนึ่ง ลูกนอนท่ากบ วางให้ท้องลูกอยู่บริเวณ ลิ้นปี่หรือยอดอกของแม่ เป็นกิจกรรมที่ทําในทารกคลอดก่อนกําหนด ช่วยทําให้ทารกแรกเกิดป่วยสงบ ระดับออกซิเจน ในเลือดคงที่ ทําให้ทารกได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทารกควบคุมอุณหภูมิกายได้ดีและเหมาะสม การเต้นหัวใจสม่ำเสมอ เพิ่มน้ำหนักตัว มีการเจริญเติบโตของสมอง ลดจํานวนวันในการนอนโรงพยาบาล ทําให้ทารกหลับได้นานขึ้นและหลับ ลึกขึ้น ลดความเจ็บปวดและความเครียดของทารก รวมทั้งช่วยให้เปลี่ยนผ่านไปกินนมแม่จากเต้าได้เร็วขึ้น สําหรับแม่ พบว่ามีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นในแม่มีการบีบน้ำนมสม่ำเสมอ และลดความรู้สึกผิดของแม่ได้ โดยเส้นทางการผลิต “ภูมิคุ้มกันเฉพาะ” ที่เดินทางจากลําไส้มาสู่เต้านม กลายเป็นน้ำนมที่มีความจําเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคที่แม่สัมผัสหรือ ได้รับจากสิ่งแวดล้อมมาปกป้องลูกจากเชื้อโรคนั้นๆ หรือเรียกว่า Enteromammary Pathway โดยเมื่อแม่รับเชื้อโรค จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกาย เกิดกลไกกระตุ้นทางระบบภูมิคุ้มกัน บี-เซลล์ที่รวมตัวกันอยู่บนลําไส้เล็ก (Payer’s patches) เซลล์จะเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์พลาสมา (plasma cell) สร้างภูมิคุ้มกันแอนติบอดี้ โดยการกระตุ้นจากเชื้อ โรคเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือดและเดินทางสู่เต้านมและขับสารภูมิคุมกันที่เฉพาะกับเชื้อโรคผ่านน้ำนมให้กับ ทารกได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง เปรียบเสมือน daily dose vaccine ดังนั้น แม่ที่ลูกคลอดก่อนกําหนดหรือลูกป่วยต้อง รับการรักษาในโรงพยาบาล แม่จึงทํา Kangaroo Mother Care ทุกครั้งที่มีโอกาส
ศิริลักษณ์ ถาวรวัฒนะผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(APN) สาขาการพยาบาลเด็กCenter of Special Expertise in Lactation Clinic: Breastfeeding Sick Babies Centerสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเส้นทางการผลิต “ภูมิคุ้มกันเฉพาะ”